ระเบียบกรมสรรพากร
ว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง
พ.ศ. 2545
เพื่อให้การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างตามประมวลรัษฎากร
เป็นไปด้วยความเหมาะสม
และเป็นแนวทางเดียวกัน
กรมสรรพากรจึงกำหนดระเบียบปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง
พ.ศ. 2545"
ข้อ 2
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
3.1
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง พ.ศ. 2539
3.2
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2539
3.3
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2541
บรรดาระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้ง
กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
ข้อความทั่วไป
ข้อ 5 ในระเบียบนี้
หน่วยจัดเก็บ หมายความว่า
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือหน่วยงานอื่น
ที่กรมสรรพากรกำหนด
หน่วยเร่งรัด หมายความว่า
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ส่วนเร่งรัดภาษีอากรค้าง
สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานอื่นที่กรมสรรพากรกำหนด
/
เจ้าพนักงาน ....
-2-
เจ้าพนักงาน หมายความว่า
ข้าราชการสังกัดกรมสรรพากร
ภาษีอากร หมายความว่า
ภาษีอากรที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากรและจัดเก็บตาม
กฎหมายอื่นรวมทั้งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มอบให้กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ
ภาษีอากรค้าง หมายความว่า
ภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งตามประมวลรัษฎากรและหรือรายได้อื่นที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วมิได้เสีย
หรือนำส่ง
ผู้ค้างภาษีอากร หมายความว่า
ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร
ใบแจ้งภาษีอากร หมายความว่า
หนังสือแจ้งการประเมิน คำสั่งให้เสียภาษีอากร
ใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร
และหรือหนังสืออื่นใดที่สั่งให้เสีย หรือนำส่งภาษีอากร
การเร่งรัด หมายความว่า
การปฏิบัติการใดๆ จนถึงที่สุดเพื่อให้ได้รับชำระภาษี
อากรค้าง
หมวด 2
การจัดตั้งสำนวนการเร่งรัด
ข้อ 6
ให้หน่วยเร่งรัดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับใบแจ้งภาษีอากร
และข้อมูลการเร่งรัดอื่นๆ
ลงในโปรแกรมที่กรมสรรพากรกำหนด
ข้อ 7 ใบแจ้งภาษีอากรฉบับใด เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระแล้วไม่ได้รับชำระ
หรือชำระ
ไม่ครบถ้วนให้หน่วยจัดเก็บแจ้งให้หน่วยเร่งรัดทราบภายในวันทำการถัดไป
ข้อ 8 ใบแจ้งภาษีอากรฉบับใด
เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระแล้วไม่ได้รับชำระ หรือชำระ
ไม่ครบถ้วนให้หน่วยเร่งรัดจัดทำสำเนาใบแจ้งภาษีอากร
เพื่อตั้งเป็นสำนวนการเร่งรัดแยกตามรายชื่อ
ผู้ค้างภาษีอากร
ในกรณีที่ได้รับใบแจ้งภาษีอากรรายเดียวกันแต่ต่างวาระกัน ให้นำไปรวมไว้เป็น
สำนวนเดียวกัน
สำนวนการเร่งรัดให้จัดทำเลขลำดับหน้าของเอกสารไว้ทุกฉบับ โดยเรียงลำดับ
ตามเอกสารที่เกิดขึ้นก่อนเป็นหลัก
ข้อ 9
สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้างที่เสร็จสิ้นแล้วให้เก็บรักษาไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยงานสารบรรณ
ข้อ 10
ให้สำนักงานสรรพากรภาคมีหน้าที่ควบคุมการเร่งรัดภาษีอากรค้าง ให้เป็น
ไปตามระเบียบนี้
/ หมวด 3 ...
-3-
หมวด 3
ขั้นตอนและวิธีการเร่งรัด
ข้อ 11
เมื่อพ้นกำหนดชำระเงินตามใบแจ้งภาษีอากรแล้วหากผู้ค้างภาษีอากรยังไม่นำเงิน
มาชำระให้เจ้าพนักงานจัดทำหนังสือเตือนให้นำเงินไปชำระตามแบบ
ภ.ส. 12 โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องให้เวลา
ผู้ค้างภาษีอากรนำเงินมาชำระภายใน
15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือเตือน
การส่งหนังสือเตือนตามวรรคหนึ่ง
ให้นำส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือจะให้
เจ้าพนักงานนำไปส่งก็ได้
เว้นแต่รายใดที่มีจำนวนภาษีอากรค้างรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ให้
เจ้าพนักงานนำไปส่งด้วยตนเอง
ถ้านำส่งโดยวิธีดังกล่าวไม่ได้ก็ให้นำบทบัญญัติในมาตรา
8 แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้
บังคับ
ข้อ 12
เมื่อครบกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระภาษีอากรค้างตามหนังสือเตือนในข้อ 11
ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ค้างภาษีอากรมาพบตามกำหนดเวลา
และมีความประสงค์จะขอผ่อน
ชำระก็ให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร
(2)
กรณีผู้ค้างภาษีอากรขอชำระภาษีอากรเพียงบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบันทึกถ้อยคำ
และรายการทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับรับชำระภาษีอากร ไว้ก่อน
(3)
กรณีผู้ค้างภาษีอากรไม่มาพบตามวันเวลาที่กำหนดไว้ หรือมาพบแต่ไม่
ยินยอมชำระให้เจ้าพนักงานบันทึกเหตุผลไว้เป็นหลักฐานแล้วจัดทำหนังสือเตือนให้นำเงินมาชำระขึ้น
อีกฉบับหนึ่งโดยให้เจ้าพนักงานนำส่งด้วยตนเอง
หรืออยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะนำส่งตามมาตรา
8 แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ต้องให้ระยะเวลาห่างจากวันที่ผู้ค้างภาษีอากรรับหนังสือเตือนครั้งแรกตาม
ข้อ 11 ไม่น้อยกว่า 30 วัน
และให้นำใบตอบรับหนังสือเตือนทั้ง 2 ครั้งมาไว้ในสำนวนการเร่งรัดด้วย
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้จัดทำรายงานแสดงการเร่งรัดภาษีอากรค้าง (ภ.ส.
16)
แล้ว ให้เจ้าพนักงานออกไปทำการสอบสวนทรัพย์สินต่อไป
ข้อ 13 ภายในกำหนดเวลา 30
วันนับแต่วันพ้นกำหนดให้ชำระเงินตามหนังสือเตือน
ในข้อ 11 แล้ว
หากปรากฏว่าผู้ค้างภาษีอากรไม่นำเงินมาชำระหรือนำเงินมาชำระไม่ครบถ้วน ให้เจ้า
พนักงานดำเนินการตามที่เห็นสมควร ดังต่อไปนี้
/
(1) มีหนังสือ ....
-4-
(1) มีหนังสือถึงสำนักงานที่ดินอำเภอ
หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดอันเป็น
ภูมิลำเนาของผู้ค้างภาษีอากร
หรือ กรมที่ดิน เพื่อขอทราบการถือครองหรือถือกรรมสิทธิ์ในอสังหา
ริมทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากร
พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ระงับการทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับอสังหา
ริมทรัพย์นั้น
(ถ้ามี) ด้วย
(2) มีหนังสือถึงหน่วยราชการใด ๆ
ซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนเกี่ยวกับสังหาริม
ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น
เช่น ที่ว่าการอำเภอ กรมการขนส่งทางบก
กรมเจ้าท่า สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง
และหรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ
เพื่อเป็นหลักฐานในข้อสันนิษฐานว่าทรัพย์สินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ค้างภาษีอากร
พร้อมทั้งขอ
ความร่วมมือให้ระงับการทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้น
(ถ้ามี) ด้วย
(3) ในกรณีที่สืบทราบว่าผู้ค้างภาษีอากร
ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคล
ใด
ให้มีหนังสือสอบถามไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทอันเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้นเพื่อขอทราบจำนวนหุ้นที่ถือและการชำระมูลค่าหุ้นหรือจำนวนเงินที่ลงหุ้นในนิติบุคคลนั้น
(4)
ในกรณีผู้ค้างภาษีอากรเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ทำหนังสือ
ถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ขอสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้น
ที่ถือมูลค่าของหุ้นและเงินมูลค่าหุ้นที่ค้างชำระ
ตลอดจนหุ้นส่วนผู้ไม่จำกัดความรับผิด และขอให้ระงับ
การโอนจำหน่ายหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ
กรรมการผู้มีอำนาจ
และรวมถึงการขอให้ระงับการจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีไว้ก่อน
(5) ขอสำเนาแบบแสดงรายการ บัญชีทำการ บัญชีกำไรขาดทุน
และ งบดุลของ
นิติบุคคลนั้น
ในรอบปีสุดท้ายที่ยื่นไว้มาประกอบการพิจารณา
(6)
ทำการสอบสวนทรัพย์สินโดยวิธีการอื่นตามที่เห็นควร
เมื่อดำเนินการตาม (1)
และ (2) แล้ว ถ้าปรากฏว่า ผู้ค้างภาษีอากรมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
สินจริง ก็ให้เสนอผู้มีอำนาจเพื่อออกคำสั่งยึด
หรืออายัด ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป
ข้อ 14 การสอบสวนเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ให้เจ้าพนักงานพยายามทำการสอบสวน ให้ถึง
ตัวผู้ค้างภาษีอากรทุกราย
โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1)
กรณีสอบสวนทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรให้ดำเนินการดังนี้
(ก)
สอบสวนทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ค้างภาษีอากร โดยไม่คำนึงว่า
ทรัพย์สินนั้นจะยึด อายัด
หรือขายทอดตลาดตามกฎหมายได้หรือไม่
การสอบสวนทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การสอบสวนทรัพย์สิน
ประเภทเงินสด
เงินฝากธนาคาร บัญชีเงินฝากต่างๆ หุ้น เครื่องประดับที่มีมูลค่า ลูกหนี้ เจ้าหนี้
ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิต่าง ๆ ของผู้ค้างภาษีอากร
ทั้งนี้ให้รวมตลอดถึงเครื่องจักรต่าง ๆ สินค้า และวัตถุดิบ ฯลฯ
/ (ข) บันทึก .....
-5-
(ข)
บันทึกรายการทรัพย์สิน จำนวน ราคาของทรัพย์สินและรายละเอียด
เกี่ยวกับทรัพย์สิน
เช่น มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือไม่ จำนำหรือจำนองไว้กับใครเป็นจำนวนเท่า
ใด ไว้ในแบบ ภ.ส.16
(รายงานแสดงการเร่งรัดหนี้ภาษีอากร)
(ค)
บันทึกสภาพความเป็นอยู่ของผู้ค้างภาษีอากร เช่น อาชีพ รายได้
ผู้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
(2)
กรณีไม่สามารถสอบสวนทรัพย์สินจากผู้ค้างภาษีอากรได้ ให้ดำเนินการ
ดังนี้
(ก)
ทำการสอบสวนทรัพย์สินจาก ญาติ หรือบุคคลในครอบครัวที่
บรรลุนิติภาวะแล้วของผู้ค้างภาษีอากร
(ข)
ทำการสอบสวนทรัพย์สินจาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายจ้าง
(ค)
ทำการสอบสวนทรัพย์สินจากบุคคลใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่
การจัดเก็บภาษีอากรค้าง
(3) กำหนดเวลาการสอบสวนทรัพย์สิน
ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน
นับแต่วันครบกำหนดให้นำเงินมาชำระตามหนังสือเตือนในข้อ
11 สำหรับผู้ค้างภาษีอากรรายที่ค้างชำระ
ตั้งแต่
1 แสนบาทขึ้นไป ถ้าไม่สามารถสอบสวนทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้
หน่วยเร่งรัดขอขยายระยะเวลาการสอบสวนทรัพย์สินได้เป็นคราวๆ
โดยให้ขออนุมัติต่อสรรพากรภาค หรือผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
แล้วแต่กรณี
ข้อ 15 เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนทรัพย์สิน
เจ้าพนักงานจะออกหมายเรียกผู้ต้อง
รับผิดชำระภาษีอากรค้างหรือบุคคลใดๆ
ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
ค้างมาให้ถ้อยคำ
และหรือ ให้นำบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาเพื่อทำการตรวจสอบ และหรือออก
คำสั่งให้ทำการตรวจค้น
แล้วแต่กรณีก็ได้
การออกหมายเรียกหรือคำสั่งให้ทำการตรวจค้นให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการออก
คำสั่งทำการตรวจค้น และการออกหมายเรียกตามมาตรา 12
ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 16
ผู้ค้างภาษีอากรรายใดมีภาษีอากรค้างตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับในท้องที่
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
และผู้ค้างภาษีอากรที่อยู่ภายใต้การบริหารการจัดเก็บ
ของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือตั้งแต่ 1
แสนบาทขึ้นไปสำหรับในท้องที่สำนักงานสรรพากร
พื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร
หรือรายที่มีปัญหาในการเร่งรัดให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนัก
บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ แล้วแต่กรณี
ทำการควบคุมการเร่งรัดโดยใกล้ชิด
/ ข้อ 17 ......
-6-
ข้อ 17 เมื่อทำการสอบสวนทรัพย์สินแล้วปรากฏว่า
ผู้ค้างภาษีอากรมีกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สิน หรือมีสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลใด
ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น
เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ค้างภาษีอากรจริงหรือไม่
โดยให้ตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยตรวจสอบ เช่น เลข
ประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หลักฐานการ
ขอจดทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดิน
หรือหลักฐานเกี่ยวกับ
ข้อมูลเฉพาะตัวอื่น ๆ ก่อนแล้ว
ให้เจ้าพนักงานทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจตาม มาตรา 12 แห่งประมวล
รัษฎากร
เพื่อสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของผู้ค้างภาษีอากร
ภายในกำหนดเวลา 30 วัน
นับแต่วันที่สอบสวนทรัพย์สินเสร็จ
วิธีการยึดหรืออายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ตามความ
ในมาตรา
12 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
ข้อ 18 เมื่อได้ทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ที่ได้รับอนุมัติให้ทำการยึดหรืออายัด
เสร็จสิ้นแล้วให้ดำเนินการขออนุมัติขายทอดตลาดภายใน
30 วันนับแต่วันที่ทำการยึดหรืออายัดเสร็จสิ้น
ลงนั้น เว้นแต่มีกรณีที่ไม่อาจขายทอดตลาดได้
การขายทอดตลาดให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร
ข้อ 19
กรณีผู้ค้างภาษีอากรมีพฤติการณ์ส่อเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร เช่น
ย้ายภูมิลำเนาไปในที่ต่าง ๆ
ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้หน่วยเร่งรัดรวบรวมหลักฐาน แล้วรายงาน
สำนักงานสรรพากรภาค
หรือสำนักบริหารภาษีธุกิจขนาดใหญ่ แล้วแต่กรณี
เพื่อดำเนินคดีทางศาลต่อไปโดยเร็วที่สุด
ข้อ 20 ในระหว่างการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้าง
(1) หากปรากฏว่า
ผู้ค้างภาษีอากรถูกเจ้าหนี้รายอื่นดำเนินคดีทางแพ่ง หรือ
คดีล้มละลายให้เจ้าพนักงานรีบดำเนินการ
ยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร
โดยด่วน
(2) หากปรากฏว่า
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของ
ผู้ค้างภาษีอากรไว้แล้ว
ให้หน่วยเร่งรัดรายงานสำนักงานสรรพากรภาค หรือสำนักบริหารภาษีธุกิจขนาด
ใหญ่ แล้วแต่กรณี
เพื่อดำเนินการขอเข้าเฉลี่ยหนี้ทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น
โดยด่วน
(3) หากปรากฏว่า
ผู้ค้างภาษีอากรถูกฟ้องคดีล้มละลายและศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาดแล้วให้หน่วยเร่งรัดรายงานสำนักงานสรรพากรภาค
หรือสำนักบริหารภาษีธุกิจขนาดใหญ่ แล้วแต่
กรณี เพื่อดำเนินการขอรับชำระหนี้โดยด่วน
/ ข้อ 21 .....
-7-
ข้อ 21
เมื่อคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้
และนำเงินชำระภาษีอากรค้างแล้ว
หากยังมีภาษีอากรค้างอยู่อีกให้ดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บตามระเบียบ
ต่อไป
ข้อ 22
ในการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ถ้าปรากฏว่า
ผู้ค้างภาษีอากรย้ายภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่หรือมีทรัพย์สินอยู่ในท้องที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่อื่น
ให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอให้ช่วยเร่งรัดจัดเก็บหนี้ภาษีอากร
โดยแนบสำเนารายงานแสดงการ
เร่งรัดหนี้ภาษีอากร (ภ.ส.16) ไปด้วย อย่างไรก็ตามสำนักงานสรรพากรพื้นที่ต้นทางยังมีหน้าที่รับ
ผิดชอบในการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างต่อไปจนถึงที่สุด
ข้อ 23
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างระหว่างพิจารณาอุทธรณ์
(1) กรณีผู้ค้างภาษีอากรรายใด
มิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลา
การเสียภาษีอากร
ให้เจ้าพนักงานรีบติดตามทวงถามผลการพิจารณาอุทธรณ์โดยกระชั้นชิด และทำการ
เร่งรัดจัดเก็บให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
โดยให้ทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ให้หมดทุกรายถ้ารายใดเห็น
สมควรขายทอดตลาดก็ให้เสนอผู้มีอำนาจออกคำสั่งพิจารณาสั่งขายทอดตลาดต่อไป
(2) กรณีผู้ค้างภาษีอากรรายใดค้างภาษีอากรอยู่
โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรม
สรรพากร
ให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้เจ้าพนักงานสอดส่องดูแล
โดยใกล้ชิดด้วย
ถ้าหากรายใดมีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจส่อให้เห็นว่า จะเกิดการเสียหายแก่ทางราชการ
ถ้าการพิจารณายังคงล่าช้า
ให้รีบแจ้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทราบเพื่อขอให้รีบวินิจฉัยเรื่อง
อุทธรณ์เป็นกรณีรีบด่วนที่สุด
(3) กรณีผู้ค้างภาษีอากรรายใด
อุทธรณ์เฉพาะประเด็นขอลดหรืองดเบี้ยปรับ
เงินเพิ่ม
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรไปก่อนส่วนเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้ดำเนินการตามนัย
(1) หรือ (2)
แล้วแต่กรณี
ข้อ 24
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากบุคคลธรรมดา
(1) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
ซึ่งสามีมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่น
รายการเสียภาษีอากร
ถ้ามีภาษีอากรค้างชำระให้แจ้งให้ภริยาทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ภริยาต้อง
ร่วมรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระ
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากภริยาตามนัยมาตรา 57 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร
เว้นแต่ภาษีอากรค้างที่เกิดจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และเข้าลักษณะ
มาตรา
57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามประมวลรัษฎากร มิได้หักหรือนำส่ง
หรือหักแต่นำเงินส่งไม่ครบถ้วน
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากผู้มีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย
นั้น ตลอดจนยึด
หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้
/
(3) ....
-8-
(3) กรณีผู้ค้างภาษีอากรเป็นผู้เยาว์
ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คน
เสมือนไร้ความสามารถหรือผู้อยู่ในต่างประเทศ
ให้เร่งรัดหรือทวงหนี้ภาษีอากรจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์
หรือผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้นแล้วแต่กรณีหากบุคคลดังกล่าว
ไม่ยอมชำระให้ทำการยึด อายัด
และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรดังกล่าวได้
(4) กรณีผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนที่จะชำระภาษีอากรค้าง
ให้เจ้า
พนักงานทำการสอบสวนให้ได้ความก่อนว่า
ผู้ตายได้ตายลงเมื่อใด ใครเป็นผู้จัดการมรดกใครเป็นทายาท
หรือผู้ใดเป็นผู้ครอบครองมรดก
แล้วจึงให้ทำการเร่งรัดภาษีอากรค้าง ไปยังบุคคลเหล่านั้น
หากอยู่ในระหว่างการร้องขอต่อศาลให้มีการจัดตั้งผู้จัดการมรดกก็ให้คอยติดตามดูคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ใด
เป็นผู้จัดการมรดก
ก็ให้ทำการเร่งรัดไปยังบุคคลนั้น หากบุคคลดังกล่าวไม่ยอมชำระ
ให้ดำเนินการดังนี้
(ก)
ในกรณีที่กองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง ให้ทำการยึด อายัด และ
ขายทอดตลาดทรัพย์ของกองมรดกได้
(ข)
ในกรณีที่กองมรดกของผู้ตายได้แบ่งไปยังทายาทแล้ว ให้รายงาน
สำนักงานสรรพากรภาค
เพื่อดำเนินคดีทางศาล
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างตามวรรคหนึ่ง
ต้องรีบดำเนินการเป็น
กรณีพิเศษ
เพราะสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีอายุความ 1 ปี
นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือ
ควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตามนัยมาตรา 1754
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(5) กรณีที่กองมรดกเป็นผู้ค้างภาษีอากร
ให้ทำการเร่งรัดภาษีอากรค้างไปยัง
ผู้จัดการมรดก หรือทายาท
หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี หากยังไม่ยอมชำระก็ให้ทำการ
ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของกองมรดกได้
หากกองมรดกได้แบ่งแล้วให้รายงานสำนักงาน
สรรพากรภาค เพื่อดำเนินคดีทางศาล
ข้อ 25
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่
นิติบุคคล
หรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
นิติบุคคลให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากทรัพย์สินของคณะบุคคล
หรือห้างหุ้นส่วนนั้นก่อน
แล้วแต่กรณี
หากเร่งรัดจัดเก็บหนี้ไม่ได้ก็ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บจากบรรดาบุคคล
หรือผู้เป็นหุ้นส่วน
คนใดคนหนึ่งหรือทุกคนก็ได้
ในกรณีผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลออกจากการเป็นหุ้นส่วน
ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นออกจากห้าง
หุ้นส่วน ฉะนั้น
การเร่งรัดจากผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกไปนั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี
นับแต่
วันที่หุ้นส่วนนั้นได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนตามนัยมาตรา
1068 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
/
(2) กรณี .......
-9-
(2) กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากห้างฯ
และจากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดพร้อมกันไปก็ได้
(3) กรณีเป็นบริษัทจำกัด
หากทำการเร่งรัดจัดเก็บจากบริษัทไม่ได้ ก็ให้ทำการ
เร่งรัดจัดเก็บจากกรรมการของบริษัทผู้รับผิดไม่จำกัด
ซึ่งได้แถลงความรับผิดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามมาตรา 1101 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ยังชำระมูลค่าหุ้นไม่
ครบหากบุคคลดังกล่าวโต้แย้งสิทธิหรือไม่ยอมชำระให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาค
เพื่อดำเนินการ
ต่อไป
(4) กรณีเป็นมูลนิธิ
พึงทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างได้เพียงจากทรัพย์สิน
และสิทธิเรียกร้องของมูลนิธิเท่านั้น
โดยให้เรียกตราสารจัดตั้งมูลนิธิและหลักฐานทางบัญชีมาประกอบ
การพิจารณา
หากมูลนิธินั้นได้สิ้นสุดการดำเนินการแล้ว ให้ทวงถามและขอรับชำระภาษีอากรค้างจาก
ผู้ชำระบัญชี
และการเร่งรัดต้องทำให้แล้วเสร็จภายในอายุความ 2
ปีนับแต่วันที่สิ้นสุดการชำระบัญชี
(5) กรณีเป็นสมาคม
พึงทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างได้เพียงจากทรัพย์สิน
และสิทธิเรียกร้องของสมาคมเท่านั้น
โดยให้เรียกข้อบังคับของสมาคมและงบดุลมา ประกอบการพิจารณา
หากยังมีภาษีอากรค้างอยู่
ให้ทำการเร่งรัดจากสมาชิกได้เท่าจำนวน เงินค่าบำรุงที่สมาชิกผู้นั้นค้างชำระอยู่
ตามนัยมาตรา 1290
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หากสมาคมได้เลิกกิจการแล้ว ให้ทวงถาม
และขอรับชำระภาษีอากรค้าง
จากผู้ชำระบัญชีและการเร่งรัดต้องทำให้เสร็จภายในอายุความ 2 ปี นับ
แต่วันเลิกกิจการ
(6) กรณีเป็นกิจการร่วมค้า
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากกิจการ
ร่วมค้าก่อน โดยให้เรียกบัญชีทำการ
บัญชีกำไรขาดทุน และหรืองบดุลของกิจการมา ประกอบการ
พิจารณา
หากยังมีภาษีอากรค้างอยู่ก็ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บจากบรรดาผู้ร่วมค้า รายใด
รายหนึ่งหรือ
ทั้งหมดก็ได้
(7) กรณีบริษัท
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการโดยมิได้แจ้งเลิกหรือแจ้งเลิก
แต่มิได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
ให้ทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างตาม (1) ถึง (3) แล้วแต่กรณี
(8) กรณีบริษัทจำกัด
ได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เป็นบริษัทร้างและโฆษณา
ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว
หากไม่สามารถทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างจากบริษัทได้ให้ทำการ
เร่งรัดจัดเก็บจากกรรมการผู้จัดการ
และหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเท่าที่ยังชำระมูลค่าของหุ้นไม่ครบ และพึงเรียก
บังคับได้เสมือนว่านิติบุคคลนั้นยังมิได้เลิกภายใน
อายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ผู้ค้างภาษีอากรได้รับใบแจ้ง
ภาษีอากร
/ (9)
กรณี ....
-10-
(9)
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งเลิกกิจการ และอยู่ระหว่างการ
ชำระบัญชีให้มีหนังสือทวงถามและขอรับชำระภาษีอากรค้างจากผู้ชำระบัญชี
พร้อมทั้งทำการเร่งรัดจาก
ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของผู้ค้างภาษีอากร
หากยังมีภาษีอากรค้างอยู่ให้ทำการเร่งรัดจากผู้จัดการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดหรือผู้ถือหุ้นที่ชำระมูลค่าหุ้นไม่ครบ
(10) กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เลิกกิจการและจดทะเบียนเสร็จ
การชำระบัญชีแล้ว
ให้รีบทำการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี
นับแต่วันที่จดทะเบียน
เสร็จการชำระบัญชี
โดยมีหนังสือทวงถามและขอรับชำระภาษีอากรค้างจากผู้ชำระบัญชี
หมวด 4
การรายงาน
ข้อ 26
ให้หน่วยเร่งรัดจัดทำรายงานผลการเร่งรัดภาษีอากรค้าง ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
เป็นรายเดือนส่งถึงสำนักงานสรรพากรภาค ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป 1 ชุด จำนวน 3
ฉบับ
ฉบับที่ 1 และ 2
ส่งสำนักงานสรรพากรภาค
ฉบับที่ 3
เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 27
ให้สรรพากรภาครวบรวมและประเมินผลการเร่งรัดภาษีอากรค้างเป็นรายหน่วย
เร่งรัด ส่งสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษีพร้อมทั้งรายงานตามข้อ
26 ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
ข้อ 28
สำหรับสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้จัดทำรายงานตามข้อ 26 และ
ข้อ
27 ส่งถึงสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี
ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป 1 ชุด จำนวน 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 ส่งสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี
ฉบับที่ 2 เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545