ระเบียบกรมสรรพากร
ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่ง
พ.ศ. 2546

                     เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งของกรมสรรพากรดำเนินไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สมประโยชน์ของทางราชการ กรมสรรพากรจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
                     
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่ง พ.ศ.2546"
                     
ข้อ 2 ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
                     
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการดำเนินคดี พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการดำเนินคดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545
บรรดาระเบียบ แนวทางปฏิบัติและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

หมวด 1
การดำเนินคดีแพ่ง


                     
ข้อ 4 การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง
                                       4.1
กรมสรรพากรเป็นโจทก์
                                              
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง หมายถึง คดีพิพาทหรือโต้แย้งสิทธิและหน้าที่หรือประสงค์จะบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีแพ่ง และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                              
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                               4.1.1
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้น แล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริงและจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคลและเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                               4.1.2
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          4.1.2/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้างหรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี

                                                           4.1.2/2 กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการว่าต่างคดี ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้อง ขาดอายุความตามกฎหมาย
                                                                        
กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป

ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ
                                                4.1.3
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาลให้สำนักงานสรรพากรภาคมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                                4.1.4
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย
                                     
ในเขตจังหวัดอื่น
                                                  4.1.5
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้น แล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริงและจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคลและเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                                  4.1.6
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                             4.1.6/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี
                                                             4.1.6/2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้
                                                             
สำนักงานสรรพากรภาค 4 และภาค 5 ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาค 1 ดำเนินการ
                                                              
สำนักงานสรรพากรภาค 7 ภาค 8 ภาค 9 และภาค 10 ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาค 2 ดำเนินการ
                                                              
สำนักงานสรรพากรภาค 6 ภาค 11 และภาค 12 ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาค 3 ดำเนินการ
                                                                           
กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ เป็นผู้ดำเนินการ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ
                                                   4.1.7
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครได้รับเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานจากสำนักงานสรรพากรภาคในต่างจังหวัดตามข้อ 4.1.6/2 แล้ว ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการ ว่าต่างคดี ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย
                                                   4.1.8
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาลให้สำนักงานสรรพากรภาคมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงาน กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                                   4.1.9
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย

                                       4.2 กรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย
                                              
กรณีกรมสรรพากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรถูกฟ้องเป็นจำเลย และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                   
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                               4.2.1
ให้สำนักงานเลขานุการกรมหรือหน่วยงานที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ จัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวไปยังกลุ่มงานสืบสวนและคดีทันที ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีตรวจสอบว่ามูลหนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้ภาษีอากรที่ตั้งค้างอยู่ ณ หน่วยงานใด หรือมูลคดีเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด แล้วดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้ง วัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีจัดทำทะเบียนคดีไว้ด้วย
กรณีหนี้ภาษีอากรตามฟ้องประเมินโดยสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าหนี้ภาษีอากรจะตั้งค้างอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดอื่น ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อดำเนินการต่อไป
กรณีหนี้ภาษีอากรตามฟ้องประเมินโดยสำนักตรวจสอบภาษีกลาง ไม่ว่าหนี้ภาษีอากรจะตั้งค้างอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดอื่น ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบหรือสำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการต่อไป
                                               4.2.2
กรณีเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเองโดยตรง ให้รายงานพร้อมจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปยังกลุ่มงานสืบสวนและคดี ภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4.2.1
                                                4.2.3
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ตามข้อ 4.2.1 และข้อ 4.2.2 แล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร หรือใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามแล้วของอธิบดีกรมสรรพากร (กรณีระบุชื่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นจำเลย) และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้วของจำเลยอื่น คนละ 2 ฉบับ สำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ขอจากหน่วยงานที่ทำการประเมินภาษี หรือจากหน่วยงานที่มูลคดีเกิดขึ้น แล้วแต่กรณี ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการแก้ต่างคดี โดยต้องส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันได้รับหรือก่อนครบกำหนดยื่นคำให้การแก้ต่างคดี แล้วแต่วันใดจะถึงกำหนดก่อน หากยังไม่ได้รับสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก็ให้จัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้วให้สำนักงานอัยการสูงสุดก่อน
                                                        
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้วของจำเลยแต่ละราย ให้จัดส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดทันทีไม่ต้องรอนำส่งพร้อมจำเลยอื่น เนื่องจากกำหนดเวลาการยื่นคำให้การ แก้ต่างคดีของจำเลยแต่ละรายครบกำหนดเวลาไม่พร้อมกัน แล้วแต่ว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อใด
                                               4.2.4
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงาน กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               4.2.5
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย

                                   ในเขตจังหวัดอื่น
                                               4.2.6
ให้หน่วยงานที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ตรวจสอบว่ามูลหนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้ภาษีอากรที่ตั้งค้างอยู่ ณ หน่วยงานใด หรือมูลคดีเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด แล้วดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 ดำเนินการภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้ง วัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจัดทำทะเบียนคดีไว้ด้วย กรณีสำนักงานเลขานุการกรมเป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4.2.1
                                                4.2.7
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ตามข้อ 4.2.6 แล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร หรือใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้ว
ของอธิบดีกรมสรรพากร (กรณีระบุชื่ออธิบดีกรมสรรพากรเป็นจำเลย) และใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามแล้วของจำเลยอื่นคนละ 2 ฉบับ สำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ขอจากหน่วยงานที่ทำการประเมิน หรือจากหน่วยงาน ที่มูลคดี เกิดขึ้น แล้วแต่กรณี ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการแก้ต่างคดี โดยต้องส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันได้รับหรือก่อนครบกำหนดยื่นคำให้การแก้ต่างคดี แล้วแต่วันใดจะถึงกำหนดก่อน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4.2.3
                                               4.2.8
กรณีเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเองโดยตรง ให้รายงานพร้อมจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปยังกลุ่มงานสืบสวนและคดี ภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4.2.1 กรณีสรรพากรภาคถูกฟ้องเป็นจำเลย และมูลหนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้ภาษีอากรที่ตั้งค้างอยู่หรือมูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ความรับผิดชอบ ให้สำนักงานสรรพากรภาคจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการ เช่นเดียวกับข้อ 4.2.7
                                               4.2.9
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย
                                       4.3
การลดยอดหนี้ตามคำพิพากษาของศาล
กรณีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดเป็นผลให้ภาษีอากรค้างลดลงทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ไม่ว่ากรมสรรพากรจะเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ตาม ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินคดีจัดทำหนังสือแจ้งผลคำพิพากษาของศาล (ท.ป.3ข/1) ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการลดยอดภาษีอากรค้างต่อไป

                     ข้อ 5 การดำเนินคดีแพ่งซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง

                                       5.1 กรมสรรพากรเป็นโจทก์
                                              
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องกับผู้ค้างภาษีอากรหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                               5.1.1
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริงพร้อมจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคลและเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                               5.1.2
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          5.1.2/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี
                                                          5.1.2/2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการว่าต่างคดี ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้อง ขาดอายุความตามกฎหมาย
                                                                       
กรณีคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดอื่น ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่ง จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนั้น เพื่อดำเนินการจัดส่งเรื่องพร้อมใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อจัดส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการว่าต่างคดีต่อไป
                                               5.1.3
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               5.1.4
ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งผล การดำเนินคดี พร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ได้รับจากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือสำนักงานอัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย
                                                
ในเขตจังหวัดอื่น
                                               5.1.5
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริงพร้อมจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคลและเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                               5.1.6
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          5.1.6/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี

                                                          5.1.6/2 กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อจัดส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการว่าต่างคดี ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย
                                                                       
กรณีคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดอื่น ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่ง จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนั้น เพื่อดำเนินการจัดส่งเรื่องพร้อมใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อจัดส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการว่าต่างคดีต่อไป
                                                                       
กรณีคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่งจัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5.1.2/2
                                               5.1.7
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               5.1.8
ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งผล การดำเนินคดี พร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ได้รับจากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือสำนักงานอัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย
                                       5.2
กรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย
                                              
กรณีกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือจำเลยร่วมในคดีแพ่ง เนื่องด้วยการปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                   
ในเขตกรุงเทพมหานคร

                                               5.2.1 ให้สำนักงานเลขานุการกรมหรือหน่วยงานที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ จัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวไปยังกลุ่มงานสืบสวนและคดีทันที ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีตรวจสอบว่ามูลหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง เป็นหนี้ภาษีอากรที่ตั้งค้างอยู่ ณ หน่วยงานใด หรือมูลคดีเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด แล้วดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย

                                                          หากมูลหนี้ภาษีอากรตามฟ้องเกิดขึ้นในจังหวัดอื่น แต่มีการฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ก็ให้จัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครตามข้อ 4.1.6/2 ภายในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีจัดทำทะเบียนคดีไว้ด้วย
                                               5.2.2
กรณีเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเองโดยตรง ให้รายงานพร้อมจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปยังกลุ่มงานสืบสวนและคดี ภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5.2.1
                                               5.2.3
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ตามข้อ 5.2.1 และข้อ 5.2.2 แล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามแล้วของจำเลยอื่น คนละ 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการแก้ต่างคดี โดยต้องส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันได้รับหรือก่อนครบกำหนดยื่นคำให้การแก้ต่างคดี แล้วแต่วันใดจะถึงกำหนดก่อน ทั้งนี้ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4.2.3
                                               5.2.4
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงาน กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               5.2.5
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย
                                   
ในเขตจังหวัดอื่น
                                               5.2.6
ให้หน่วยงานที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์จัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ที่ฟ้องคดีดังกล่าว ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมหน่วยงานที่มีมูลหนี้ในการฟ้องคดีสังกัดภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจัดทำทะเบียนคดีไว้ด้วย
กรณีสำนักงานเลขานุการกรมเป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5.2.1
                                               5.2.7
กรณีเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเองโดยตรง ให้รายงานพร้อมจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปยังสำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนั้นภายในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และวิธีการรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทราบด้วย

                                               5.2.8 เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ตามข้อ 5.2.6 และข้อ 5.2.7 แล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ใบแต่งทนายความซึ่งลงนามแล้วของจำเลยอื่น คนละ 2 ฉบับ และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อจัดส่งให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการแก้ต่างคดี โดยต้องส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันได้รับหรือก่อนครบกำหนดยื่นคำให้การแก้ต่างคดี แล้วแต่วันใดจะถึงกำหนดก่อน ทั้งนี้ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5.2.3
                                               5.2.9
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงาน กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               5.2.10
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งผลการดำเนินคดี พร้อมจัดส่งสำเนา คำพิพากษาที่ได้รับจากสำนักงานอัยการจังหวัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และจัดส่งสำเนาคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้กรมสรรพากรด้วย

                     ข้อ 6 การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์
                                       
กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำสั่งของศาล ในคดีแพ่งแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ในอันที่จะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระค่าภาษีอากรค้าง และกรมสรรพากร ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างมีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรได้ตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยจะต้องยื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี และให้ดำเนินการ ดังนี้
                               
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       6.1
เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี เรื่อง การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ทำการตรวจสอบว่าจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น มีภาษีอากรค้างหรือไม่ (รวมทั้งภาษีอากรค้างที่ช่วยทำการเร่งรัดจัดเก็บด้วย) หากพบว่าจำเลยดังกล่าว มีภาษีอากรค้าง ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               6.1.1
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัด โดยให้รายงานข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยจำนวนภาษีอากรค้าง ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร และทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดไว้ กำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากถึงกำหนดวันขายทอดตลาดแล้ว ให้รายงานด้วยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินได้หรือไม่ จำนวนเงินที่ขายได้ หรือเลื่อนกำหนดการขายทอดตลาดออกไปเมื่อใด หากทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดติดจำนอง ให้ตรวจสอบหนี้จำนองทั้งหมดเปรียบเทียบกับราคาทรัพย์สินที่ขายได้ ทั้งนี้ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทำความเห็นเสนอสำนักงานสรรพากรภาค เพื่อพิจารณาว่าควรดำเนินการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หรือไม่ และให้ส่งเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการดำเนินคดี เช่น สำนวน การตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล ประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคโดยด่วน ก่อนครบกำหนดเวลา ตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
                                               6.1.2
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          6.1.2/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ ให้รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 4 ฉบับ พร้อมคำสั่งมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีและการให้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จัดส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการยื่นคำขอร้องเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                                                                       
กรณีศาลที่ออกหมายบังคับคดีมีเขตอำนาจศาลอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่งจัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลจังหวัดนั้นเพื่อดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 6.2.2/1
                                                          6.1.2/2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นว่า การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือมีเหตุอื่นที่ไม่สมควร ให้ยุติการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวแล้วแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี
                                               6.1.3
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                               6.1.4
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับแจ้งผลคดีขอเฉลี่ยทรัพย์จากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือสำนักงานอัยการจังหวัด ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          6.1.4/1
กรณีศาลมีคำสั่งให้กรมสรรพากรได้รับส่วนเฉลี่ยตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งจำนวนส่วนเฉลี่ยและให้รับเงิน ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบเพื่อให้สรรพากรภาคลงนามในหนังสือมอบฉันทะรับเงินในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ เพื่อมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดรับเงินส่วนเฉลี่ยนำมาชำระภาษีอากรค้าง แล้วแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบด้วย

                                                          6.1.4/2 กรณีศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ หรืออนุญาตให้ได้รับส่วนเฉลี่ยไม่เต็มจำนวนตามคำร้องขอ ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามหมวด 3 ทั้งนี้ให้แจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

                               ในเขตจังหวัดอื่น   
                                       6.2
เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี เรื่อง การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ทำการตรวจสอบว่าจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น มีภาษีอากรค้างหรือไม่ (รวมทั้งภาษีอากรค้างที่ช่วยทำการเร่งรัดจัดเก็บด้วย) หากพบว่าจำเลยดังกล่าวมีภาษีอากรค้าง ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               6.2.1
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัด โดยให้รายงานข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยจำนวนภาษีอากรค้าง ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรและทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดไว้ กำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากถึงกำหนดวันขายทอดตลาดแล้ว ให้รายงานด้วยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินได้หรือไม่ จำนวนเงินที่ขายได้ หรือเลื่อนกำหนดการขายทอดตลาดออกไปเมื่อใด หากทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดติดจำนอง ให้ตรวจสอบหนี้จำนองทั้งหมดเปรียบเทียบกับราคาทรัพย์สินที่ขายได้ ทั้งนี้ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทำความเห็นเสนอสำนักงานสรรพากรภาค เพื่อพิจารณาว่าควรดำเนินการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หรือไม่ และให้ส่งเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการดำเนินคดี เช่น สำนวน การตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล ประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคโดยด่วน ก่อนครบกำหนดเวลา ตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่น้อยกว่า 7 วัน

                                               6.2.2 สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          6.2.2/1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ ให้รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความ ซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 4 ฉบับ พร้อมคำสั่งมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีและการให้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จัดส่งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ซึ่งศาลที่ออกหมายบังคับคดีตั้งอยู่ เพื่อให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                                                                      
กรณีศาลที่ออกหมายบังคับคดีมีเขตอำนาจศาลอยู่ในจังหวัดอื่น ที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่งจัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งควบคุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนั้นเพื่อดำเนินการต่อไป
                                                                       
กรณีศาลที่ออกหมายบังคับคดีมีเขตอำนาจอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานสรรพากรภาคตามวรรคหนึ่งจัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการเช่นเดียวกับ ข้อ 6.1.2/1
                                                          6.2.2/2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นว่า การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือมีเหตุอื่นที่ไม่สมควร ให้ยุติการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าว แล้วแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือให้ดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณีต่อไป
                                               6.2.3
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

                                               6.2.4 เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ผู้รับผิดชอบได้รับแจ้งผลคดีขอเฉลี่ยทรัพย์จากสำนักงานอัยการจังหวัด ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                          6.2.4/1
กรณีศาลมีคำสั่งให้กรมสรรพากรได้รับส่วนเฉลี่ยตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งจำนวนส่วนเฉลี่ยและให้รับเงิน ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบเพื่อให้สรรพากรภาคลงนามในหนังสือมอบฉันทะรับเงินในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรจำนวน 1 ฉบับ เพื่อมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดรับเงิน ส่วนเฉลี่ยนำมาชำระภาษีอากรค้าง แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
                                                          6.2.4/2
กรณีศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เข้าเฉลี่ย หรืออนุญาตให้ได้รับส่วนเฉลี่ยไม่เต็มจำนวนตามคำร้องขอ ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามหมวด 3 ทั้งนี้ให้แจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

 

หมวด 2
การดำเนินคดีล้มละลาย

                     ข้อ 7 กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายกับผู้ค้างภาษีอากรหรือลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ดำเนินการ ดังนี้
                             
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       7.1
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริง และจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล และเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิ เรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                       7.2
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               7.2.1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้าง หรือดำเนินการอื่นใดตามควรแก่กรณี
                                               7.2.2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาค ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีล้มละลาย ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย
                                       
กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ
                                       7.3
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลให้สำนักงานสรรพากรภาคมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                       7.4
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
                                       7.5
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ 8 ต่อไป
                                       7.6
กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องคดีล้มละลายที่กรมสรรพากร เป็นโจทก์ ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกา ตามหมวด 3 ต่อไป

                             ในเขตจังหวัดอื่น
                                       7.7
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริงและจัดส่งสำนวนการตรวจสอบภาษีอากร สำนวนการพิจารณาอุทธรณ์ สำนวนการเร่งรัดภาษีอากรค้าง สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคลและเอกสาร หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทำความเห็นไปยังสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อพิจารณา โดยต้องดำเนินการก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
                                       7.8
สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               7.8.1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรยุติการดำเนินคดี ให้ทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติ เมื่อกรมสรรพากรสั่งการให้ยุติเรื่อง ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการเร่งรัดภาษีอากรค้างหรือดำเนินการ อื่นใดตามควรแก่กรณี
                                               7.8.2
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาเห็นควรดำเนินคดี ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการต่อไป

                                                          กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรภาคที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ
                                       7.9
เมื่อสำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครได้รับเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐาน จากสำนักงานสรรพากรภาคในต่างจังหวัดตามข้อ 7.8.2 แล้ว ให้จัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด และใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีล้มละลาย ทั้งนี้ให้รีบดำเนินการโดยด่วนก่อนสิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมาย
                                       7.10
การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการและการดำเนินกระบวนการพิจารณา ในชั้นศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครมอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ประสานงานกับพนักงานอัยการผู้ว่าคดี และให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานงานร่วมด้วยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
                                       7.11
ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครแจ้งผลการดำเนินคดีให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                       7.12
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ 8 ต่อไป
                                       7.13
กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องคดีล้มละลายที่กรมสรรพากรเป็นโจทก์ ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกา ตามหมวด 3 ต่อไป

                     ข้อ 8 การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
                             
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       8.1
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีส่งใบมอบอำนาจ (ล.53) ซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
                                             
กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 พื้นที่ขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีส่งใบมอบอำนาจ (ล.53) ซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาคในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ส่งเรื่องให้ฟ้องคดีล้มละลาย ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

                                             กรณีศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดซึ่งเป็นหนี้ภาษีอากรที่ตั้งค้างอยู่ในจังหวัดอื่น ให้สรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 ลงนามในใบมอบอำนาจ (ล.53) ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
                                       8.2
กรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตรวจพบว่าผู้ค้างภาษีอากรถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้ว ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาค ที่สังกัดทราบ เพื่อให้สำนักงานสรรพากรภาคจัดส่งใบมอบอำนาจ (ล.53) ซึ่งลงนามโดยสรรพากรภาค ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้ มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
                                             
กรณีลูกหนี้มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ตั้งแต่ 2 พื้นที่ขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือมีภูมิลำเนาอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
                                       8.3
ให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามข้อ 8.1 และข้อ 8.2 แจ้งผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                       8.4
กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอรับชำระหนี้หรือยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกา ตามหมวด 3 ต่อไป
                              
ในเขตจังหวัดอื่น
                                       8.5
กรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตรวจพบว่าผู้ค้างภาษีอากรถูกเจ้าหนี้อื่น ฟ้องคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้ว ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบ เพื่อส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 8.1 วรรคสาม
                                       8.6
ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครแจ้งผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                       8.7
กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอรับชำระหนี้หรือยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด ให้ดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกา ตามหมวด 3 ต่อไป

                     ข้อ 9 การขอชำระหนี้ภาษีอากรค้างในระหว่างการดำเนินคดีล้มละลาย
ในระหว่างการดำเนินคดีล้มละลายกับผู้ค้างภาษีอากร และศาลยังมิได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาด กรณีผู้ค้างภาษีอากรขอชำระภาษีอากรเพื่อยุติคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคมีอำนาจพิจารณารับชำระหนี้เต็มจำนวนเท่านั้น กรณีผู้ค้างภาษีอากรขอผ่อนชำระภาษีอากร ให้สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาอนุมัติให้ผ่อนชำระได้ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร เมื่อผู้ค้างภาษีอากรชำระหนี้ครบถ้วนหรือทำสัญญาผ่อนชำระตามระเบียบแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณายุติการดำเนินคดีล้มละลาย และแจ้งให้สำนักงานอัยการสูงสุดถอนฟ้องคดีต่อไป

                     ข้อ 10 การขอประนอมหนี้
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาด และกรมสรรพากรได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรณีลูกหนี้ (จำเลย) ขอชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น โดยทำคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือ ไม่ว่ากรณีเป็นการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หรือหลังล้มละลาย ให้สำนักงานสรรพากรภาคเป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามระเบียบนี้ และตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ว่าด้วยการประนอมหนี้ และให้ดำเนินการ ดังนี้
                                       10.1
กรณีลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ว่าจะยื่นต่อกรมสรรพากรหรือไม่ก็ตาม ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือผู้รับมอบอำนาจที่ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคพร้อมจัดส่งหนังสือขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ (ถ้ามี) โดยสรุปเงื่อนไข วิธีการ และจำนวนเงินที่ลูกหนี้เสนอขอประนอมหนี้ จำนวนหนี้ที่กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้หรือจำนวนหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ ผลการสำรวจทรัพย์สินของลูกหนี้ และจำนวนหนี้ ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด พร้อมเสนอความเห็นเบื้องต้นด้วยว่าสมควรยอมรับคำขอประนอมหนี้หรือไม่ ประการใด
                                       10.2
ให้สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                               10.2.1
ลูกหนี้ (จำเลย) จะต้องไม่มีทรัพย์สินหรือมีแต่ไม่เพียงพอชำระหนี้ได้ หรือมีทรัพย์สินแต่เจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
                                               10.2.2
ลูกหนี้ (จำเลย) ต้องยินยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา 130 (1)-(7) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 และค่าทนายความที่ศาลสั่งโดยเต็มจำนวนและทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้
                                               10.2.3
การชำระเงินตามคำขอประนอมหนี้ ไม่ว่าจะชำระทันทีหรือผ่อนชำระลูกหนี้ (จำเลย) จะต้องชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
                                               10.2.4
กรณีลูกหนี้ (จำเลย) ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ให้ประนอมหนี้ได้ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ หรือของจำนวนหนี้ที่ศาลมีคำสั่ง ให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้ แล้วแต่กรณี ไม่ว่าลูกหนี้ (จำเลย) จะขอผ่อนชำระหรือไม่ก็ตาม

                                               10.2.5 กรณีลูกหนี้ (จำเลย) ขอประนอมหนี้หลังล้มละลาย ให้ประนอมหนี้ได้ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้กรมสรพากรได้รับชำระหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้ (จำเลย) จะขอผ่อนชำระหรือไม่ก็ตาม
                                       10.3
กรณีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาอนุมัติของสำนักงานสรรพากรภาค ตามข้อ 10.2.4 และข้อ 10.2.5 ให้สำนักงานสรรพากรภาครายงานข้อเท็จจริงตามข้อ 10.1 พร้อมทำความเห็นเสนอกรมสรรพากรโดยด่วน เพื่อพิจารณาสั่งการว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ (จำเลย) หรือไม่

                     ข้อ 11 การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ
                               
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       11.1
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคตรวจพบว่า ผู้ค้างภาษีอากรในท้องที่ความรับผิดชอบ ถูกศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้สรรพากรภาคลงนามในใบมอบอำนาจ (ฟ.12) ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ มอบหมายให้นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ ในสังกัดเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันโฆษณา คำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
                                       11.2
กรณีผู้ค้างภาษีอากรมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่ผู้ค้างภาษีอากรมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่และมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เว้นแต่สำนักงานสรรพากรภาคที่ผู้ค้างภาษีอากรมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ไม่มีภาษีอากรค้าง ให้สำนักงานสรรพากรภาคซึ่งมีภาษีอากรค้างตั้งอยู่จำนวนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
                                       11.3
กรณีผู้ค้างภาษีอากรมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีสาขาตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น หรือนัยกลับกัน ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตจังหวัดอื่นที่มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดเพื่อจัดส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ค้างภาษีอากรมีสำนักงานแห่งใหญ่หรือมีสาขาตั้งอยู่เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่หากเป็นกรณีตามข้อ 11.2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 11.2
                                       11.4
กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมดหรืออนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วน ให้สำนักงานสรรพากรภาคจัดส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
                                       11.5
กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอรับชำระหนี้หรือยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด ให้ดำเนินการอุทธรณ์ ตามหมวด 3 ต่อไป
                                       11.6
กรณีผู้รับมอบอำนาจได้รับแผนจากผู้ทำแผนแล้ว ให้พิจารณาว่าแผนดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เช่น จำนวนหนี้ที่ได้รับชำระ การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ ระยะเวลาการปฏิบัติตามแผน หากแผนดังกล่าวไม่ถูกต้องให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงหน้าก่อนวันประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติว่าจะยอมรับแผนหรือไม่ ไม่น้อยกว่าสามวัน โดยให้สำเนาคำขอแก้ไขแผนเท่ากับจำนวนเจ้าหนี้และนำไปวางไว้กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
                                       11.7
กรณีผู้รับมอบอำนาจขอแก้ไขแผนไม่สำเร็จ ให้สรรพากรภาคลงนามในใบแต่งทนายความในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 2 ฉบับ จัดส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการยื่นคำคัดค้านแผนต่อศาลต่อไป
                                       11.8
ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร แจ้งผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                              
ในเขตจังหวัดอื่น
                                       11.9
กรณีสำนักงานสรรพากรภาคตรวจพบว่าผู้ค้างภาษีอากรในท้องที่ความรับผิดชอบ ถูกศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่มีภาษีอากรค้างตั้งอยู่ จัดส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 4.1.6/2 เพื่อดำเนินการยื่นคำขอ รับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 11.1 และข้อ 11.2 แล้วแต่กรณี
                                       11.10
กรณีแผนไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งให้กรมสรรพากร ได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอรับชำระหนี้หรือยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด ให้ดำเนินการ เช่นเดียวกับข้อ 11.4 ข้อ 11.5 ข้อ 11.6 หรือข้อ 11.7 แล้วแต่กรณี
                                       11.11
ให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานคร แจ้งผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

หมวด 3
การอุทธรณ์ และฎีกา


                     
ข้อ 12 กรณีศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และสำนักงานอัยการสูงสุด
หรือสำนักงานอัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี แจ้งผลคดีให้หน่วยงานที่ส่งเรื่องดำเนินคดีทราบแล้ว การจะพิจารณาอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่ ประการใด ให้สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบเป็นผู้พิจารณา โดยให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ว่าด้วยเรื่องการอุทธรณ์ และฎีกา
                               
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       12.1
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ ให้สำนักงานสรรพากรภาคดำเนินการ ดังนี้
                                               12.1.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดี และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา คดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลคดีพร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาให้กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต่อไป
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการแก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา พร้อมทั้งจัดส่งหมายนัดของศาล (ถ้ามี) และแจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

                                               12.1.2 กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการอุทธรณ์หรือฎีกาไปก่อน กรณีสำนักงานสรรพากรภาคเห็นควรไม่อุทธรณ์หรือฎีกา ให้รายงานความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อให้เสนอกระทรวงการคลังพิจารณาสั่งการว่าควรจะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปหรือไม่ ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เป็นประการใด ให้กรมสรรพากรแจ้งสำนักงานสรรพากรภาคทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
                                               12.1.3
กรณีกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นควรไม่อุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการถอนอุทธรณ์หรือถอนฎีกาต่อไป
                                       12.2
กรณีกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย ให้สำนักงานสรรพากรภาคดำเนินการ ดังนี้
                                               12.2.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา คดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลคดีพร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาให้กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการแก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา พร้อมทั้งจัดส่งหมายนัดของศาล (ถ้ามี) และแจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                               12.2.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สำนักงานสรรพากรภาคดำเนินการต่อไปเช่นเดียวกับข้อ 12.1.2 และข้อ 12.1.3
                              
ในเขตจังหวัดอื่น
                                       12.3
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับแจ้งผลคดีศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบ และให้ดำเนินการดังนี้
                                               12.3.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา คดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลคดีพร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาให้กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต่อไป
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคสั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งสำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการแก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา พร้อมทั้งจัดส่งหมายนัดของศาล (ถ้ามี) และแจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                               12.3.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สำนักงานสรรพากรภาคสั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งสำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการอุทธรณ์ หรือฎีกาไปก่อน                                                กรณีสำนักงานสรรพากรภาคเห็นควรไม่อุทธรณ์หรือฎีกา ให้รายงานความเห็นเสนอกรมสรรพากรเพื่อให้เสนอกระทรวงการคลังพิจารณาสั่งการว่าควรจะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปหรือไม่ ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังเป็นประการใด ให้กรมสรรพากรแจ้งสำนักงานสรรพากรภาคทราบเพื่อดำเนินการต่อไป และให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
                                               12.3.3
กรณีกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นควรไม่อุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เพื่อให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการถอนอุทธรณ์ หรือถอนฎีกาต่อไป
                                       12.4
กรณีกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับแจ้งผลคดีศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว ให้รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบ และให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               12.4.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา คดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลคดีพร้อมจัดส่งสำเนาคำพิพากษาให้กรมสรรพากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                               
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ให้สำนักงานสรรพากรภาคสั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ แจ้งสำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการแก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา พร้อมทั้งจัดส่งหมายนัดของศาล (ถ้ามี) และให้แจ้งการอุทธรณ์หรือฎีกาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
                                               12.4.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สำนักงานสรรพากรภาคดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 12.3.2 และข้อ 12.3.3 ต่อไป

หมวด 4
การบังคับคดีแพ่ง


                     
ข้อ 13 กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งและคดีถึงที่สุดแล้ว หากต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ให้สำนักงานสรรพากรภาคพิจารณาสั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามที่ระบุในหมายบังคับคดี โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดี
                               
ในเขตกรุงเทพมหานคร
                                       13.1
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ เมื่อได้รับแจ้งผลคดีถึงที่สุดแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคดำเนินการ ดังนี้
                                               13.1.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ถ้ายังมิได้มีการออกหมายบังคับคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยด่วน
เมื่อได้รับหมายบังคับคดีของศาลแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาค ที่ดำเนินคดีหรือดำเนินคดีแทนสำนักงานสรรพากรภาคในเขตจังหวัดอื่น แจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา (รวมค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความ) โดยให้สรรพากรภาคลงนามในหนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 1 ฉบับ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่พร้อมจัดส่งหมายบังคับคดีเพื่อนำยึดทรัพย์สินและประสานงานกับเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้แล้ว ให้นำเงินชำระหนี้ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชำระแทนโจทก์ ให้สำนักงานสรรพากรภาค ส่งเงินให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการต่อไป
                                               13.1.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีและได้รับคำบังคับของศาลแล้ว ให้สำนักงาน สรรพากรภาคแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาล กรณีต้องส่งเงินค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ หรือเงินอื่นใดตามคำพิพากษาของศาล ให้ดำเนินการนำเงินวางศาลโดยด่วน
                                       13.2
กรณีกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย เมื่อได้รับแจ้งผลคดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรภาค ดำเนินการ ดังนี้
                                               13.2.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
                                                           
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ให้ดำเนินการบังคับคดีเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 13.1.1
                                               13.2.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีและได้รับคำบังคับของศาลแล้ว ให้สำนักงาน สรรพากรภาคแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาล กรณีต้องส่งเงินค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ หรือเงินอื่นใดตามคำพิพากษา ให้ดำเนินการนำเงินวางศาลโดยด่วน
                                               13.2.3
ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งผลการบังคับคดีให้กรมสรรพากรทราบด้วย
                               
ในเขตจังหวัดอื่น
                                       13.3
กรณีกรมสรรพากรเป็นโจทก์ เมื่อได้รับแจ้งผลคดีถึงที่สุดแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัดทราบ และให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               13.3.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ถ้ายังมิได้มีการออกหมายบังคับคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เพื่อให้สำนักงานอัยการจังหวัดดำเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยด่วน
เมื่อได้รับหมายบังคับคดีของศาลแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาค แจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา (รวมค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ) โดยให้สรรพากรภาคลงนามในหนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรจำนวน 1 ฉบับ มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่พร้อมจัดส่งหมายบังคับคดีเพื่อนำยึดทรัพย์สินและประสานงานกับเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีประจำจังหวัด
เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้แล้ว ให้นำเงินชำระหนี้ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชำระแทนโจทก์ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ส่งเงินให้สำนักงานอัยการจังหวัดเพื่อดำเนินการต่อไป

                                               13.3.2 กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีและได้รับคำบังคับของศาลแล้ว ให้สำนักงาน สรรพากรภาคแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาล กรณีต้องส่งเงินค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ หรือเงินอื่นใดตามคำพิพากษาของศาล ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ดำเนินการนำเงินวางศาลโดยด่วน
                                       13.4
กรณีกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นจำเลย เมื่อได้รับแจ้งผลคดีถึงที่สุด ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่รายงานสำนักงานสรรพากรภาคที่สังกัด และให้ดำเนินการ ดังนี้
                                               13.4.1
กรณีกรมสรรพากรชนะคดีและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่รายงานสำนักงานสรรพากรภาค และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
กรณีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ให้ดำเนินการบังคับคดีเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 13.3.1
                                               13.4.2
กรณีกรมสรรพากรแพ้คดีและได้รับคำบังคับของศาลแล้ว ให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำบังคับของศาล กรณีต้องส่งเงินค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ หรือเงินอื่นใดตามคำพิพากษา ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ดำเนินการนำเงินวางศาลโดยด่วน
                                               13.4.3
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งผลการบังคับคดี ให้สำนักงานสรรพากรภาคทราบและให้สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งกรมสรรพากรทราบด้วย

                     ข้อ 14 กรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาย้ายสำนักงานแห่งใหญ่หรือภูมิลำเนาจากกรุงเทพมหานคร ไปอยู่ในเขตจังหวัดอื่น หรือนัยกลับกัน ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสำนักงานแห่งใหญ่หรือภูมิลำเนาเป็นผู้ดำเนินการบังคับคดี

หมวด 5
การดำเนินคดีกรณีความผิดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่


                     
ข้อ 15 การดำเนินคดีกรณีความผิดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นผู้ดำเนินการ โดยให้นำหมวด 1 ถึงหมวด 4 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ให้มีอำนาจดำเนินการเช่นเดียวกับสำนักงานสรรพากรภาค

หมวด 6
การดำเนินคดีกรณีความผิดซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง


                     
ข้อ 16 การดำเนินคดีกรณีความผิดซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ไม่ว่ากรมสรรพากรจะเป็นผู้ฟ้องคดี .

หรือกรมสรรพากรและหรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรเป็นผู้ถูกฟ้องคดีก็ตามให้สำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นผู้ดำเนินการสำหรับกรณีที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี หากเป็นกรณีที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาคหรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดี เป็นผู้ดำเนินการ โดยให้นำหมวด 1 ถึงหมวด 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด 7
เบ็ดเตล็ด


                     
ข้อ 17 กรณีการดำเนินคดีที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาค และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้หน่วยงานที่จะดำเนินคดีหรือถูกฟ้องคดีส่งเรื่องให้กลุ่มงานสืบสวนและคดี เป็นผู้ดำเนินการ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5

                     ข้อ 18 กรณีกรมศุลกากรส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการทางศาลกับผู้เสียภาษีอากร ซึ่งกรมศุลกากรจัดเก็บภาษีอากรแทนกรมสรรพากร เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีอากรรายหนึ่งรายใดได้ ให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีตรวจสอบว่าผู้เสียภาษีอากรมีสำนักงานแห่งใหญ่หรือภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาคใด แล้วดำเนินการจัดส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาคนั้นดำเนินการ ตามข้อ 4.1.2                                         กรณีเป็นสำนักงานสรรพากรภาคในเขตจังหวัดอื่น ก็ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานสรรพากรภาคในกรุงเทพมหานครดำเนินการตามข้อ 4.1.6/2

                     ข้อ 19 กรณีหน่วยราชการอื่นขอให้กรมสรรพากรเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ให้สำนักงานเลขานุการกรมหรือหน่วยงานที่ได้รับหนังสือจากหน่วยราชการอื่น จัดส่งเรื่องให้กลุ่มงานสืบสวนและคดีทันทีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

                     ข้อ 20 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบนี้ หรือปัญหาอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้รายงานกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาสั่งการ

                     ข้อ 21 ให้หัวหน้ากลุ่มงานสืบสวนและคดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

                                                                                                               ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546


                                                                                                                               
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
                                                                                                                            (
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
                                                                                                                               
อธิบดีกรมสรรพากร